การทดแทนฟันที่สูญเสียไป เป็นการรักษาทางทันตกรรมที่ช่วยเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ทำให้มีการบดเคี้ยวอาหารได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ ทดแทนช่องว่างทำให้ยิ้มได้อย่างมั่นใจมากขึ้น และการทดแทนฟันบางชนิดก็ยังสามารถคงรูปของกระดูกขากรรไกรและรูปหน้าไม่ให้เกิดการยุบตัว

    1. ฐานโลหะ เป็นฐานฟันปลอมที่มีความแข็งแรงสามารถออกแบบให้ส่วนฐานปิดทับเนื้อเยื่อเหงือกหรือเพดานปากให้บางและน้อยที่สุดได้ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการออกเสียงพูดไม่ชัดหรือการปิดพื้นที่สัมผัสอาหารในขณะรับประทาน แต่พื้นผิวบางส่วนที่รองรับฟันปลอมก็จำเป็นต้องใช้วัสดุชนิดอะคริลิกร่วมด้วย
    2. ฐานอะคริลิก มีลักษณะคล้ายพลาสติกชนิดแข็ง จำเป็นต้องออกแบบให้ส่วนฐานมีความหนาอย่างน้อย 2 มิลลิเมตร และปิดคลุมเนื้อเยื่อเหงือกหรือเพดานปากให้มากที่สุดเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการยึดเกาะกับเนื้อเยื่ออ่อน มีโอกาสแตกหักได้ง่ายกว่าชนิดอื่นๆและมีข้อเสียจากรูพรุน ของอะคริลิกที่ทำให้เกิดกลิ่นหรือคราบฝังลึกลงในผิวอะคริลิกได้
    3. ฐานไวนิล (Valplast) เป็นฐานฟันปลอมที่มีความยืดหยุ่นสูงน้ำหนักเบาไม่แตกหักได้ง่ายเหมือนชนิดอื่นๆแต่ไม่ควรใช้ฐานฟันปลอมชนิดนี้รองรับซี่ฟันปลอมหลายซี่เพื่อรับแรงในการบดเคี้ยวเพราะความยืดหยุ่นของฐานที่มากเกินไปจึงทำให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวลดลงและอาจส่งผลเสียต่อข้อต่อขากรรไกรที่ทำให้เกิดการเคลื่อนหรือเสื่อมได้
  1. หลังการถอนฟันควรรอให้แผลหายดีประมาณ 2 เดือน จึงเริ่มต้นพิมพ์ปากเพื่อทำฟันปลอม ในกรณีที่จำเป็นต้องใส่ฟันปลอมทันทีหลังถอน ก็สามารถทำได้ แต่ต้องได้รับการเสริมฐานฟันปลอม หลังจากครบกำหนดการหายของแผล 2 เดือน
  2. ทันตแพทย์ตรวจสุขภาพฟันและเหงือกทั้งหมด เพื่อวางแผนการรักษาก่อนการใส่ฟันปลอม หากสุขภาพฟันและเหงือกไม่แข็งแรง ประสิทธิภาพของฟันปลอมจะลดลงไป และฟันปลอมอาจใช้งานได้ไม่นาน เช่น กรณีฟันผุในตำแหน่งติดกับขอบเขตของฟันปลอม เมื่อทำการรักษาโดยการอุดฟันภายหลังการใส่ฟันปลอม โอกาสที่วัสดุอุดไม่แนบกับฟันปลอมจะมีได้สูง ซึ่งจะมีผลทำให้เศษอาหารติดได้ง่าย
  3. การพิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลองฟันเพื่อส่งแลปทันตกรรมทำชิ้นงานฟันปลอม โดยใช้เวลาเพียง 1-5 วันในกรณีที่มีฟันธรรมชาติหลายซี่แต่ถ้ามีฟันธรรมชาติเหลือน้อยซี่อาจใช้ระยะเวลาเพิ่มขึ้นเป็น 10-20 วัน โดยจำเป็นต้องเพิ่มขั้นตอนดังนี้
    • 3.1 การพิมพ์ปากด้วยถาดพิมพ์เฉพาะบุคคล โดยใช้วัสดุพิมพ์ปากที่คัดลอกรายละเอียดได้ดีขึ้น เพื่อจำลองรายละเอียดของสภาพสันเหงือกให้ใกล้เคียงกับสภาพสันเหงือกธรรมชาติให้มากที่สุด
    • 3.2 การลองขี้ผึ้ง เป็นการวัดระดับแนวฟันให้สมมาตรกับโครงสร้างใบหน้าและฟันคู่สบ
    • 3.3 การลองฟัน เป็นการตรวจสอบสีฟัน แนวฟัน ทั้งในแง่ความสวยงาม และการสบฟันก่อนการทำเป็นชิ้นงานจริง
  4. การใส่ฟันปลอม ทันตแพทย์จะต้องตรวจสอบและแก้ไขจุดกดเจ็บบนเนื้อเยื่อเหงือก จุดสบสูงจากการสบฟัน และความกระชับของฟันปลอมก่อนการส่งมอบฟันปลอมให้ผู้ป่วย
  5. ทันตแพทย์แนะนำวิธีการใส่เข้า – ถอดออก และการดูแลทำความสะอาดฟันปลอม

การทดแทนฟันที่สูญเสียไป

  1.  ฟันปลอมชนิดติดแน่น
    เป็นการใช้ชิ้นงานทางทันตกรรมที่ลอกเลียนรายละเอียดรูปร่างได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ ยึดติดลงบนฟันหลักที่อยู่ในตำแหน่งติดกับช่องว่าง(สะพานฟัน) หรือยึดติดลงบนกระดูกขากรรไกรในตำแหน่งช่องว่างนั้นๆ (การฝังรากเทียม) ซึ่งฟันปลอมในกลุ่มนี้ไม่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดภายนอกช่องปากได้
    อ่านสะพานฟันเพิ่มเติม
    อ่านการฝังรากเทียมเพิ่มเติม
  2. ฟันปลอมชนิดถอดได้
    เป็นการทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป โดยมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก ราคาไม่สูงนัก สามารถถอดออกมาทำความสะอาดภายนอกช่องปากได้ แต่ประสิทธิภาพการใช้งานแตกต่างจากฟันธรรมชาติพอสมควร ผู้รับการรักษาจำเป็นต้องฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อแก้มและลิ้นให้คุ้นเคยกับการใช้ฟันปลอมชนิดนี้ เพื่อฝึกการพูดออกเสียง และการบดเคี้ยวให้เป็นไปอย่างธรรมชาติ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ การใช้งานเว็บไซต์ของเราแสดงว่าคุณยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว และการใช้คุกกี้ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า